โดยทั่วไป, ผลของ wall slip บริเวณผิวคาวิตี้สามารถละเลยได้ แต่ในบางกรณี (เช่น แผงหน้าจอ, ชิ้นงานที่มีลักษณะบาง หรือผิวแม่พิมพ์ที่ขัดเงาให้เรียบมากๆ ) ซึ่งพฤติกรรม wall slip จะส่งผลอย่างมากต่อพฤติกรรมการไหล และควรนำมาพิจารณาเมื่อมีการวิเคราะห์ โดย Moldex3D R13.0 จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถจำลองพฤติกรรม wall slip ที่ส่งผลต่อพื้นผิวชิ้นงาน ซึ่งผู้ใช้สามารถระบุความเค้นเฉือนบริเวณผนัง(wall shear stress) และสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน (friction coefficient) ในขณะที่ตั้งค่า wall slip boundary condition ยิ่งค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานหรือค่าความเค้นคงเฉือนที่ผนังมีค่าสูง จะทำให้ผิวของคาวิตี้ไม่เรียบมากขึ้นเท่านั้น และส่งผลต่อการต้านทานการไหล
ขั้นที่ 1: เพื่อเป็นการตั้งค่า wall slip boundary condition ก่อนที่จะเริ่มทำการวิเคราะห์, ให้เปิดชุดคำสั่ง “computation parameter” จากนั้นคลิก Advanced… ที่อยู่ใต้เครื่องมือ Flow/Pack
ขั้นที่ 2: เช็ค Apply wall slip boundary condition, แล้วระบุตัวแปรพารามิเตอร์ Wall Slip BC ค่าสัมประสิทธ์การเสียดทานจะเป็นตัวบ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างบริเวณการไหล, การครากการเสียดทาน (frictional drag), และการเริ่มเกิดความเค้นเฉือนที่ผนัง (wall shear stress threshold), ค่าวิกฤตการเริ่มเกิดความเค้นเฉือนที่ผนัง (critical wall shear stress) คือ ค่าความเค้นเฉือนวิกฤต (critical shear stress) ณ เวลาที่พฤติกรรมการไหลเปลี่ยนจาก non-slip ไป slip จากนั้นคลิก OK เพื่อเป็นการทดสอบการตั้งค่า
ขั้นที่ 3: หลังจากขั้น filling analysis, เปรียบเทียบผลกรณีที่ไม่สนใจผลกระทบจากการไถลที่ผนัง (wall slip impact) และกรณีที่พิจารณาผลกระทบที่เกิดจากการไถลที่ผนัง ดังแสดงตามรูปข้างใต้, ผลของเวลาที่ผิวหน้าการไหลเคลื่อนที่(Melt Front Time) ของกรณีแบบพิจารณาและไม่พิจารณา wall slip impact จะมีค่าต่างกัน
Wall Slip Demo (Melt Front Time)
แบบไม่มีการตั้งค่า wall slip boundary condition | แบบตั้งค่า wall slip boundary condition | |